วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย
วิสัยทัศน์ (vision) หมายถึง ถ้อยแถลงที่ระบุถึงสภาพการณ์ในอุดมคติซึ่งเป็น "จุดหมาย" ที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้องการให้เกิดในอนาคตข้างหน้า วิสัยทัศน์เป็นผลรวมของการสรุปบทเรียนจากอดีต พิจารณาปัจจุบัน และมุ่งหวังถึงอนาคตข้างหน้า การกำหนดวิสัยทัศน์จึงเป็นการตอบคำถามว่า "องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอยต้องการอะไรในอนาคต?"
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย
"ตำบลที่เน้นพัฒนาคุณภาพชีวิต ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ฟังเสียงของพี่น้องประชาชน"
พันธกิจการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย
ภารกิจหลัก เป็นข้อความหรือถ้อยแถลงที่แสดงถึงลักษณะหรือขอบข่ายในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เกี่ยวกับลักษณะการบริหารและการจัดบริการสาธารณะเป็นขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักหรือขอบเขตของกิจกรรมที่มุ่งเน้นเป็นพิเศษที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
ภารกิจหลักที่ ๑ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้และมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประเทศ มีการพัฒนาระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส มีขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ได้ตรงความต้องการของประชาชน โดยเสริมสร้างเครือข่ายการประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่นปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารการจัดการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีอาชีพ มีรายได้ มีความมั่นคงทางสังคม มีความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน มีสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและยาเสพติด เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง
ภารกิจหลักที่ ๒ การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปราศจากมลภาวะและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดใหญ่พัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น ควบคุู่ไปกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ภารกิจหลักที่ ๓ ปรับปรุง พัฒนา ระบบการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐาน เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถปรับตัวต่อสภาพการณ์ทีเปลี่ยนแปลงไปและดำรงตนในสังคม ได้อย่างมีคุณค่า ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
ภารกิจหลักที่ ๔ การพัฒนาด้านการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต การเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภารกิจหลักที่ ๕ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อมในเกิดสภาวะแวดล้อมที่ดีมีสภาพภูมิทัศน์สวยงาม และยั่งยืน ปลูกฝัง จิตสำนึก ในการรักษาสภาพแวดล้อมทางนิเวศน์วิทยาของป่า และประเพณี พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้ เป็นแหล่งเศรษฐกิจของท้องถิ่น
ภารกิจหลักที่ ๖ การส่งเสริมให้มีการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การสร้างระบบบริหารงานจัดการที่ดี โดยให้มีประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมือง ผู้นำท้องถิ่น ตระหนักถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการวางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารงาน ประชาชนมี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทุกระดับ
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๑ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๑) แนวทางการพัฒนาการก่อสร้าง ปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร
๒) แนวทางการพัฒนาการก่อสร้าง ปรับปรุงบำรุงรักษา เส้นทางคมนาคมและก่อสร้างปรับปรุงท่อและรางระบายน้ำ
๓) แนวทางการพัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะและการจัดให้มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๒ ด้านคุณภาพชีวิต
๑) แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสวัสดิการของผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์และการส่งเสริมกิจกรรมของครอบครัว
๒) แนวทางการพัฒนาส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓) แนวทางการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยยึดหลักตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
๔) แนวทางการพัฒนาป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๕) แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพอนามัย
๖) แนวทางพัฒนาป้องกันการเกิดโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๓ ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
๑) การพัฒนาก่อสร้างและปรับปรุงโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาคารเอนกประสงค์ รั่้ว และเครื่องเล่นเด็ก
๒) การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ
๓) การพัฒนาสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน
๔) การส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ
๕) การส่งเสริมกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๔ ด้านสิ่งแวดล้อม
๑) การพัฒนาอนุรักษ์ ฟื้นฟูและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความยั่งยืน
๒) การก่อสร้าง ปรับปรุงสนามกีฬา สวนสาธารณะสวนสุขภาพสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๓) การพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยวและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามสะอาด ทางสะดวกและมีความปลอดภัย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๕ ด้านเศรษฐกิจ
๑) การส่งเสริมอาชีพ
๒) การส่งเสริมเศรษฐกิจ การพัฒนาการประกอบอาชีพ กลุ่มอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๖ ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๑) การพัฒนาส่งเสริมประชาธิปไตย
๒) การพัฒนาบุคลากรและองค์กร
๓) การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาครัฐ ภาคเอกชนหน่วยงานอื่นๆ
๔) การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารของทางราชการและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร