วิสัยทัศน์
 

วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย

                        วิสัยทัศน์  (vision)  หมายถึง  ถ้อยแถลงที่ระบุถึงสภาพการณ์ในอุดมคติซึ่งเป็น “จุดหมาย”  ที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า  วิสัยทัศน์เป็นผลรวมของการสรุปบทเรียนจากอดีต    พิจารณาปัจจุบัน   และมุ่งหวังถึงอนาคตข้างหน้า    การกำหนดวิสัยทัศน์จึงเป็นการตอบคำถามว่า  “องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอยต้องการอะไรในอนาคต ?”

 วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย
“ตำบลที่เน้นพัฒนาคุณภาพชีวิต ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ฟังเสียงของพี่น้องประชาชน

พันธกิจการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย
         เป็นการกำหนดสิ่งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องทำโดยจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลต้องการอะไร เป็นอะไรในอนาคต ความต้องการ/ความคาดหวังของทุกฝ่ายในชุมชน  ดังนั้น การตอบคำถามว่าองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องทำอะไร  เพื่อใคร  คำตอบที่เกิดขึ้นก็คือ ความหมายของคำว่า  “ภารกิจหลัก”  นั่นเอง
ภารกิจหลัก  เป็นข้อความหรือถ้อยแถลงที่แสดงถึงลักษณะหรือขอบข่ายในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เกี่ยวกับลักษณะการบริหารและการจัดบริการสาธารณะ  เป็นขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักหรือขอบเขตของกิจกรรมที่มุ่งเน้นเป็นพิเศษที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
ภารกิจหลักที่  1  การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน     ครอบครัว       และชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ มีการพัฒนาระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ  โปร่งใส   มีขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ตรงความต้องการของประชาชน   โดยเสริมสร้างเครือข่ายการประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่  เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่นพร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารการจัดการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีอาชีพ  มีรายได้  มีความมั่นคงทางสังคม   มีความปลอดภัย  ในชีวิตและทรัพย์สิน มีสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี  ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและยาเสพติด  เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ  ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง
ภารกิจหลักที่  2  การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปราศจากมลภาวะ  และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดใหญ่   พัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน  เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ภารกิจหลักที่  3  ปรับปรุง พัฒนา ระบบการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐาน  เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้  ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข คิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น   สามารถปรับตัวต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและดำรงตนในสังคมได้อย่างมีคุณค่า   ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
ภารกิจหลักที่  4 การพัฒนาด้านการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต การเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทฤษฎีใหม่   เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภารกิจหลักที่   5  การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ดีมีสภาพภูมิทัศน์สวยงาม  และยั่งยืน ปลูกฝังจิตสำนึก  ในการรักษาสภาพแวดล้อมทางนิเวศน์วิทยาของป่า และการรักษาสภาแวดล้อมให้เกิดความสมดุลย์ทางธรรมชาติ   ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  ประเพณี  พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจของท้องถิ่น
 ภารกิจหลักที่  6  การส่งเสริมให้มีการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย    การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี   โดยให้มีประชาชน  เจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักการเมือง  ผู้นำท้องถิ่น  ตระหนักถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการวางแผนพัฒนา  การตรวจสอบ  เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารงาน  ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทุกระดับ

จุดมุ่งหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  จุดมุ่งหมายเพื่อการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน  หมายถึง  ขอบเขตหรือประเภทของกิจกรรมที่ควรค่าแก่การดำเนินงานทั้งในด้านเศรษฐกิจ   สังคม   วัฒนธรรม   สิ่งแวดล้อม   และขององค์การบริหารส่วนตำบลที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบล
 ด้านสังคม  
1.ชุมชนมีสภาพเป็นเมืองน่าอยู่    มีสภาพภูมิทัศน์สวยงาม  มีความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ปราศจากมลภาวะ
2. ดำเนินการเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนรวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3. การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  ร่วมคิด  ร่วมทำร่วมกันแก้ไขปัญหาชุมชน 
4. การพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสให้  ได้รับการดูแลเอาใจใส่

ด้านสาธารณสุข  
1. ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีถ้วนหน้า
2. ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีการนันทนาการอย่างมีคุณภาพ และเพียงพอ 
3. การบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ  ผู้ด้อยโอกาส เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน                                 
1. การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และแหล่งน้ำเพื่อ การอุปโภคและบริโภคให้เพียงพอ
2. การขนส่งผลผลิตหรือสินค้าทางการเกษตรสู่ตลาดได้โดยสะดวก 
3. การติดต่อสื่อสาร  สัญจรไปมาของประชาชน  ได้รับความสะดวก  รวดเร็วและปลอดภัย

ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม       
1. ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง    
2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการพัฒนาความรู้   คู่คุณธรรม ตลอดจน เสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างมีประสิทธิภาพ                    
3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น  และการส่งเสริมกิจกรรมด้านการศาสนา  วัฒนธรรม  อนุรักษ์ประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
ด้านเศรษฐกิจ     
1. ดำเนินการให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2. การเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทฤษฎีใหม่
3. การสนับสนุนกองทุนเพื่อพัฒนาอาชีพแก่ราษฎร
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
1. จัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน
2. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ พืชผักสวนครัว  เพื่อสวยงาม  ปลูกฝังให้เยาวชน  ประชาชนรักการปลูกต้นไม้และเพื่อเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่  จำเป็นในครอบครัว
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ  มีจิตสำนึกในการรักษา และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านการเมืองการบริหาร                            
1. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการอย่างต่อเนื่องและโปร่งใส
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน และอื่น ๆ  เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายการพัฒนา
3. ส่งเสริมและสนับสนุนหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
4. การบริหารงานทั่วไป  การบริหารงานบุคคลและการบริหารงานคลังเป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
5. ประชาชนเข้าใจบทบาทหน้าที่และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน

 ยุทธศาสตร์การพัฒนา(จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น) ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น หมายถึง    แนวคิดหรือวิธีการบ่งบอกถึงลักษณะการเคลื่อนตัวขององค์กรว่าจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการในอนาคตได้อย่างไร อันเป็นการตอบคำถามว่า “ท้องถิ่นจะไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้อย่างไร”  ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นจึงเป็นกรอบชี้นำหรือส่วนหัวกระบวนของชุดแผนงาน  ซึ่งเป็นการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนที่ท้องถิ่นเลือกที่จะปฏิบัติ  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

 องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกัน 6 ด้าน
1. ด้านคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชน
2. ด้านสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน
3. ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ด้านเศรษฐกิจ
5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ด้านการเมือง  การบริหาร

 

แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น(จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น)

1. ด้านคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชน  ประกอบด้วยแนวทาง
1.1 พัฒนาคน  ชุมชน  และสังคม  ด้านการจัดการศึกษา  สาธารณสุข  การพัฒนาคุณภาพชีวิต  ตลอดจนการสังคมสงเคราะห์ประชาชน งานสวัสดิการสังคม  งานพัฒนาเด็ก  เยาวชน  สตรี  งานสงเคราะห์ประชาชน 
1.2 การรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน  ลดอาชญากรรม และการแก้ไขปัญหา ยาเสพติด  เพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่
1.3 ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน  เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษา  ด้านสุขภาพอนามัย  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  สวัสดิการและสังคมสงเคราะห์  และสภาพความเป็นอยู่ทั้งระดับบุคคล  ชุมชน  และสังคม
1.4 พัฒนาสวนสาธารณะ  สนามกีฬา  ให้เพียงพอ
1.5 ปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันการส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีภายในชุมชน

 2.  ด้านสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน    ประกอบด้วยแนวทาง 
2.1จัดหาบริการพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิต  และความเป็นอยู่ของประชาชน  เช่น  ถนน  ไฟฟ้า  ประปา  โทรศัพท์  เป็นต้น       2.2  ปรับปรุงและซ่อมแซม  ถนน  ทางเท้า  และท่อระบายน้ำ
2.3 การขุดลอกลำห้วย  ขุดสระ สร้างฝาย ปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อกักเก็บน้ำใช้ในการเกษตร 

3.  ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่น      ประกอบด้วยแนวทาง
3.1ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน  ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
3.2  ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย  การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

 4. ด้านเศรษฐกิจ   ประกอบด้วยแนวทาง  
4.1  พัฒนาฝีมือในการประกอบอาชีพของประชาชนโดยการฝึกอาชีพ ส่งเสริมการค้า การพาณิชย์การอุตสาหกรรมการบริการต่าง ๆ         4.2  สนับสนุนให้ชุมชนร่วมคิด  ร่วมทำ  ใช้หลักการมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ  กลุ่มออมทรัพย์  จัดร้านค้าชุมชน  โดยสอดแทรกแนวคิด  เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในทุกโอกาส
4.3  สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของท้องถิ่นให้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเพื่อให้เกิดการซื้อขายอันเป็นการเพิ่มรายได้แก่ท้องถิ่น

5.  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     ประกอบด้วยแนวทาง  
5.1ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนึกถึงคุณค่า และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง   ป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะ  น้ำเสีย  มลพิษ  มลภาวะ  และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  
5.2  ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการกำจัดขยะมูลฝอย  
5.3  ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตร

 6.  ด้านการเมือง  การบริหาร        ประกอบด้วยแนวทาง  
6.1  การฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างในการปฏิบัติงาน 
6.2  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร  การให้ความรู้กับประชาชนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย  และสิทธิเสรีภาพ  และความรู้ต่าง ๆ
6.3  เสริมสร้างความรู้และจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของประชาชน  และชุมชนในตำบล
6.4  พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้  และระบบการบริหารการจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ย้อนกลับ

 
 
 
Visitor  : วันนี้ 1313 | เดือนนี้ : 40912 | ปีนี้ : 151679 | รวม : 684208
ที่อยู่ 2 หมู่ 11 ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี